หทัย AI
อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

เกี่ยวกับเรา

หทัย AI

เพิ่มประสิทธิภาพการอ่านภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจและทำให้การวินิจฉัยเข้าถึงได้จากทุกพื้นที่

จุดเริ่มต้นของหทัย AI

การใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, ECG) เป็นหนึ่งในวิธีพื้นฐานที่แพทย์ใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติของหัวใจในปัจจุบัน ด้วยราคาและความรวดเร็วในการวัดผลทำให้แพทย์สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบในลำดับถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้การเข้าถึงแพทย์ที่จะเข้าใจภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นไปได้ยาก การใช้โมเดลทำนายที่มีประสิทธิภาพจึงมีโอกาสเข้ามามีส่วนในการช่วยแพทย์ในการอ่านภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันหทัย AI สามารถอ่านภาพและประเมินความเสี่ยงของการมีแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial Scar) และประเมินเมื่อประสิทธิภาพหัวใจห้องล่างซ้ายต่ำกว่าปกติ (LVEF < 40, 50) จากภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีด และนอกจากนั้นยังมีแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจแบบต่าง ๆ ได้แก่ การมีแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial Scar) หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน (CAD) และประสิทธิภาพหัวใจห้องล่างซ้ายต่ำกว่าปกติ (LVEF < 40, 50) ที่คำนวณมาจากสถิติของประชากรอีกด้วย

คณะวิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการนำโมเดลมาพัฒนาต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันและพัฒนาแอปพลิเคชันหทัย AI ขึ้นมา เพื่อให้แพทย์หรือผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยขั้นพื้นฐานได้จากทุกพื้นที่ในประเทศไทย นอกจากนั้นแอปพลิเคชันยังสามารถเพิ่มความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคในกลุ่มประชากร เพื่อได้รับการประเมินความเสี่ยงและได้รับการวินิจฉัยที่ทันท่วงทีก่อนเป็นโรคหัวใจร้ายแรง

คณะทำงาน

หทัย AI เป็นแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่างห้องทดลองของ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ศูนย์โรคหัวใจ และ ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์​ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยโรคหัวใจจากภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ เพื่อใช้ในการรักษาโรคหัวใจกับผู้ป่วยในอนาคต แอปพลิเคชันนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยและเพื่อให้แพทย์และประชาชนเข้าถึงโมเดลการทำนายรูปแบบต่าง ๆ

ในปัจจุบันแอปพลิเคชันไม่มีการเก็บข้อมูลของการอัปโหลดไฟล์ใด ๆ

SI Logo
MU Logo

ติดต่อ

อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช ชั้น 9

แผนที่การเดินทาง https://www.siphhospital.com/th/contact/contact

โมเดลนี้จัดทำโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช และภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล